วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ภาวะโลกร้อน

เร็วๆ นี้ได้มีการหยิบยกเรื่องโลกร้อนกันอีกครั้ง โดยมีการประชุมระดับโลกกันที่ประเทศอาร์เจนตินา ก่อนหน้านี้ประชุมกันที่ญี่ปุ่น สาระสำคัญคือ
ก๊าซโอโซนกำลังถูกทำลายอย่างมาก จนทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง
ปัญหาสำคัญคือ การปล่อยก๊าซ พิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น ที่สำคัญการใช้สารฟลูออโรคาร์บอน หรือรู้จักกันว่าสารซีเอฟซีสารนี้ มีการประชุมเพื่อป้องกัน ชั้นบรรยากาศโอโซนเรียกว่า พิธีสารมอนทรีออล ว่าด้วยการยกเลิกการใช้สารทำลายชั้นบรร-ยากาศโอโซ ในต่างประเทศเองส่วนใหญ่เลิกใช้สารซีเอฟซีกันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังใช้อยู่ในปริมาณร้อยละ 1 ของสารซีเอฟซีที่ใช้ทั่ว โลก ทราบว่าปีหน้าไทยเองจะยกเลิกเช่นกัน
สารซีเอฟซีนั้นประมาณร้อยละ 33 ของปริมาณทั้งหมด ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นเพื่อใช้ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น และเครื่องปรับอากาศทั้งในอาคารและในรถยนต์ ร้อยละ 25 ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และร้อยละ 42 ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ มองแค่ตู้เย็นผลิตประมาณปีละ 1.3 ล้านเครื่อง ใช้สารซีเอฟซีประมาณ 260 ตันต่อปี
ยังมีอุตสาหกรรมที่ใช้สารไฮ-โดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เอชซีเอฟ และไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนหรือ เอชเอฟซี สามารถทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้เช่นกัน เอชซีเอฟ ทำลายโอโซนได้นาน 5 ปี ส่วนซีเอฟซี ทำลายโอโซนได้นานถึง 25 ปี ส่วนเอชเอฟซี ไม่ทำลายชั้นของโอโซนเพียงแต่ปิดกั้นพลังงานความร้อนเท่านั้น
ประการต่อมาสารคาร์บอนไดออกไซด์ มีการพบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณครึ่งหนึ่ง เกิดจากการตัดไม้ ทำลายป่าบนพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ ตรงนี้น่าจะรับฟังได้ เพราะป่าไม้ของไทยถูกทำลายปีละ 1 ล้านไร่ จนจะหมดอยู่แล้ว ผลที่เกิดก็คือเนื่อง จากต้นไม้จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ตอนมีการสังเคราะห์แสงในเวลากลางวัน และปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในเวลากลางคืน
แต่ที่แนวโน้มน่ากลัวกว่าเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมและท่อไอเสียจากรถยนต์ เพราะการพัฒนาประเทศนั้นมีแต่เพิ่มมากขึ้น ในการขับขี่ยานพาหนะ ขณะนี้ประเมินว่ามี 1.88 ล้านคันทั่วประเทศ จะมีก๊าซออกมา 10 กิโลกรัม ต่อเชื้อเพลิง 4 ลิตร หากมีการขับขี่ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง 4 ลิตรต่อคัน ก็จะปล่อยคาร์บอนไดออก ไซด์ออกมา 18,800 ตัน สำหรับในการผลิต กระแสไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ต้องใช้ถ่านหินหนัก ครึ่งกิโลกรัม ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือ 1.4 กิโลกรัม อีกทั้งการเผาไหม้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงยังปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศและ เป็นหมอกควันที่ป้องกันแสงอาทิตย์ทั้งยังปิดบังเรือนกระจก ซึ่งจะทำให้บรรยากาศเกิดการเย็นลงได้
สารอันตรายอีกตัวคือ ไนตรัสออกไซด์ ซึ่งสะสม อยู่ในปุ๋ยเคมีและถ่านหิน ถ้าจะลด หมายความว่า การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องน้อยลงหรือหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ ส่วนการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงอย่างที่เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง ก็ต้องหาวิธีทำให้ถ่านหินสะอาด
อันตรายของมันคือ ไนตรัสออกไซด์จะดูดความร้อน ไว้ได้นับร้อยๆ ปี เพราะโมเลกุลของก๊าซนี้สามารถดูดความร้อนไว้ได้นาน กว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง100 เท่า แต่ไนตรัสออกไซด์ ทำลายโมเลกุลของโอโซนได้น้อยกว่าซีเอฟซีร้อยละ 25
ก๊าซมีเทนก็มีส่วนอย่างมาก สาเหตุหลักมาจาก การตัดไม้และการเผาป่า นอกจากนี้การทำนาข้าว การเลี้ยงวัวควาย การถมขยะ การทำเหมืองแร่ และการผลิตถ่านหิน อย่างการปลูกข้าว เกิดก๊าซมีเทน เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในดินเป็นตัวปล่อยมีเทน การเลี้ยงวัวควายก่อให้เกิดมี-เทน เนื่องจากแบคทีเรียใน กระเพาะอาหารของสัตว์กินหญ้าประเภทวัว ควาย แพะ แกะ อูฐ จะย่อยอาหารและปล่อยมีเทนออกมาด้วย
มีการศึกษาพบในแต่ละวันวัว 1 ตัว เรอมีเทนออกมาถึง 0.5 ปอนด์ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาไทยมีวัว ควายประมาณ 11 ล้านตัว แต่ละตัว จะเรอนาทีละหลายครั้ง หากวัวควายเรอเพียงนาทีละครั้ง จะมีปริมาณ ก๊าซมีเทนออกมา 5.5 ล้านปอนด์ มีเทนที่เก็บพลังงานความร้อนเอาไว้ ขณะนี้จะเก็บความร้อนไว้ได้นานกว่า10 ปี และเก็บความร้อน ไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนสามารถ เก็บพลังงานความร้อนเอา ไว้ขณะนี้ไปจนถึงระยะเวลานาน 10 ปี และเก็บความร้อนไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า
ตัวทำลายโอโซนดังกล่าวนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างมาก นอกจากอากาศบนโลกจะร้อนขึ้นและสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ จะตามมาอีกมาก การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองเพื่อมีชีวิตรอด ก็ต้องแสวงหากันอีก นอกจากนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพืชและสัตว์ก็มากด้วย ระบบชีวิตของมันต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง ถึงขั้นสูญพันธุ์ไปเลยก็เป็นได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาจากขั้วโลกกำลังละลายลงมา สู่ทวีปยุโรป และดินแดนที่มนุษย์ อาศัยอยู่ วิเคราะห์กันว่าบริเวณของโลกที่อยู่ในระดับต่ำมากๆ อาจจะ สูญหายไปจากแผนที่โลกเพราะน้ำท่วมหมดสิ้น
หากว่ากันแล้วมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวทำลายโอโซน แต่จะบอกว่าใคร ปล่อยมากปล่อยน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ประเด็นอยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลบ้านของตัวเองว่า จุดไหนที่ปล่อยสารพิษทำลายโอโซนต้องช่วยกันทำให้ลดลง เพื่อจะได้อยู่ในโลกนี้ได้ยาวนาน
แต่สำหรับพวกเราแล้ว สิ่งที่น่าจะทำกันได้ อย่างเช่น การลดการใช้ สารซีเอฟซีที่มีอยู่ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น เครื่องปรับอากาศคือ การใช้แปรงทาสีแทนที่จะใช้กระป๋องฉีดสเปรย์ ใช้เครื่องปรับอากาศ เท่าที่จำเป็นแล้วหันมาใช้พัดลม เปิดหน้าต่างและสวม เสื้อผ้าบางๆ นอกจากนี้เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช้แล้ว ก็จะต้องมีวิธีการทำลายที่ดี เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารซีเอฟซี สู่ชั้นบรรยากาศ
สำหรับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์ ทำได้โดยใช้รถรวมกันเมื่อเดินทางไปในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันครั้งละหลายๆ คนหรือที่รัฐบาลโดยสพช. กำลังรณรงค์กันอยู่ ขณะนี้คือ CAR POOL การขับขี่ยานพาหนะที่ประหยัด น้ำมันเชื้อเพลิง การสัญจรโดยการเดิน หรือเดินทางโดยรถจักรยาน หรือโดยสารรถประจำทาง
การเพิ่มปริมาณขยะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เนื่องจากการทับถมของขยะมากขึ้น ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ถูกกำจัด โดยธรรมชาติน้อยลง การใช้เครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงาน ทำบ้านให้ปลอดโปร่ง ใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และลม ทำให้ไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา การใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงาน และการผลิตกระแสไฟฟ้าทำให้ปล่อยคาร์บอน-ไดออกไซด์ออกมาน้อยลง
นอกจากนี้ การป้องกันการปล่อยมีเทนออกสู่บรรยากาศทำได้โดย ลดปริมาณขยะและนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และลดการเผาต้นไม้ในป่า และตามทุ่ง นอกจากนี้ยังควรพยายามที่จะนำมีเทนที่ เกิดจากการถมขยะ และการทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนเป็นก๊าซที่เก็บความร้อนบนโลก ยิ่งมีก๊าซมากก็จะเก็บความร้อนไว้มาก
โอโซนถือเป็นชั้นบรรยากาศที่จำเป็นสำหรับมนุษย์และสรรพ สิ่ง หากพวกเรายังคงทำลายอากาศ บริสุทธิ์ ที่เรียกว่าบรรยากาศชั้น โอโซนแล้ว โลกใบนี้จะเกิดวิบัติต่อสรรพสิ่งทันตาเห็น

ไม่มีความคิดเห็น: